มกราคม เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้าน "มะเร็งปากมดลูก"
January is Cervical Cancer Awareness Month
Q : "มะเร็งปากมดลูก" รักษาได้อย่างไรบ้าง
A : การรักษามะเร็งปากมดลูกนั้น สัมพันธ์กับระยะของโรคเป็นสำคัญ โดยระยะแรกนั้น อาจจะยังสามารถผ่าตัดให้หายขาดได้ แต่ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ เช่น มีความเสี่ยงในการดมยาสลบ หรือรอยโรคขนาดใหญ่ที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การรักษาอาจพิจารณาเป็นการฉายรังสี ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ส่วนในระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาแบบประคับประคอง ทั้งนี้ ควรให้แพทย์เจ้าของไข้ประเมินการตรวจร่างกายและตรวจห้องปฏิบัติการให้ครบถ้วนก่อน เพื่อความเหมาะสมในวิธีการเลือกการรักษา
"การฉายรังสี" เป็นการรักษามะเร็งปากมดลูกวิธีหนึ่ง โดยพิจารณาในผู้ป่วยที่
- เมื่อเป็นมะเร็งที่ไม่แพร่กระจาย แต่มีลักษณะที่ไม่เหมาะแก่การผ่าตัด
- เมื่อมีการผ่าตัดแล้วพบลักษณะที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยง! ในการกลับมาเป็นซ้ำ
- มีการกลับมาเป็นซ้ำเฉพาะที่อุ้งเชิงกราน
- เมื่อมีอาการต่างๆ จากก้อนมะเร็ง เช่น ปวด เลือดออก มีการกระจายไปตำแหน่งอื่นๆ
การฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกนั้น นอกจากจะมีการฉายรังสีจากภายนอก (External Beam Radiation) ยังมีการรักษาโดยการใส่แร่ (Brachytherapy) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้โอกาสกลับเป็นซ้ำน้อยลง
รู้หรือไม่? ...โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร เปิดบริการรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสี ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดมากว่า 4 ปี คนไข้มะเร็งปากมดลูกกว่า 300 ราย (จากผู้ป่วยหญิงทั้งหมดกว่า 1,000 ราย) ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ
สนใจติดต่อเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง และบริการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV รวมไปถึงการขอคำปรึกษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือขอปรึกษาแนวทางในการรักษาโรคมะเร็งได้ที่
โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
โทร. 033-266-150
แอดไลน์ https://lin.ee/i71uLAg
เรียบเรียงโดย นพ.ณัฐวุฒิ จีบโจง
แพทย์เฉพาะทางสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
รพ.เฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก หนังสือ "100 เรื่อง รู้จัก รู้รักษา โรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ"
เขียนโดย รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์