มีนาคม เดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่

March is Colorectal Cancer Awareness Month

 

Q : การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

A : มะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับต้นๆของคนไทย และอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาการของโรคนั้นมักจะมีเมื่อมะเร็งโตในระยะหนึ่ง หรือมีการแพร่กระจายไปที่อื่นแล้ว

      การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ จึงมีส่วนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างชัดเจน เพิ่มโอกาสการหายขาดและได้รับการรักษาได้เร็วก่อนที่จะมีอาการ

      NCCN Guidelines แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ไว้หลายวิธีในผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง วิธีที่ง่ายและรวดเร็วคือ การตรวจเม็ดเลือดที่ปนเปื้อนในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test) แนะนำให้ทำการตรวจปีละครั้ง หรืออีกวิธีที่เป็นการตรวจมาตรฐานสูงสุด (Gold Standard) คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ซึ่งแนะนำให้ทำทุก 10 ปี

รู้หรือไม่?

        ผู้ป่วย "มะเร็งลำไส้ใหญ่" บางส่วนเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะคนที่มีญาติป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ตั้งแต่อายุน้อย ซึ่งในปัจจุบันการตรวจยีนหรือรหัสพันธุกรรมเพื่อค้นหาโอกาสการเกิดมะเร็ง จะช่วยทำให้เราทราบถึงโอกาสการเป็นมะเร็งจากพันธุกรรม เพื่อทำให้เราตระหนักในการดำเนินชีวิต และเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่จะมีผลต่อการเกิดโรค รวมไปถึงเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

 

สนใจติดต่อเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง รวมไปถึงการขอคำปรึกษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือขอปรึกษาแนวทางในการรักษาโรคมะเร็งได้ที่ โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร

 Tel. 033-266-150

​ Line Official https://lin.ee/i71uLAg

 

เรียบเรียงโดย นพ.ณัฐวุฒิ จีบโจง

แพทย์เฉพาะทางสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

รพ.เฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร