Bladder Cancer
Q : "มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ" มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ?
A : การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งง่าย ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
- มะเร็งยังไม่ลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อ รักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ ร่วมกับการให้ยาโดยตรงไปที่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อลดการกลับมาเป็นซ้ำ
- มะเร็งลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อ รักษาโดยการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะออก ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือหากไม่อยากผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะออก อาจใช้การรักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของทีมแพทย์
- มะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น การรักษาหลัก คือ การให้ยาเคมีบำบัดหรือการรักษาโดยภูมิคุ้มกันบำบัด ส่วนการฉายรังสีมีบทบาทในการระงับอาการเฉพาะที่ เช่น อาการปวด หรือเลือดออก เป็นต้น
รู้หรือไม่ ?
การฉายรังสีในการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีข้อดี - ข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี | ข้อเสีย |
- ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด | - ใช้เวลาในการฉายรังสี 4-7 สัปดาห์ |
- ไม่ต้องปัสสาวะทางถุงหน้าท้อง | - ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี เช่น ปัสสาวะแสบขัด ท้องเสีย เม็ดเลือดต่ำ |
- ความเสี่ยงต่อการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศน้อยกว่าการผ่าตัด | - หากก้อนมะเร็งยุบไม่หมด อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดตามมา |
สนใจติดต่อเข้ารับบริการคลินิกตรวจคัดกรองมะเร็ง และบริการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV รวมไปถึงการขอคำปรึกษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือขอปรึกษาแนวทางในการรักษาโรคมะเร็งได้ที่โรงบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
Tel. 033-266-150
Line Official : https://lin.ee/i71uLAg
ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ "100เรื่อง รู้จัก รู้รักษา โรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ"
เรียบเรียงโดย นพ.ณัฐวุฒิ จีบโจง
แพทย์เฉพาะทางสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
รพ.เฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร