Brain Cancer

 

Q : "การรักษามะเร็งในสมอง" ทำได้อย่างไรบ้าง?

A : "การรักษามะเร็งในสมอง" ประกอบด้วย การผ่าตัดและการฉายรังสี หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนการให้ยาเคมีบำบัด มีบทบาทเฉพาะผู้ป่วยบางกลุ่ม

การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของมะเร็งชนิดนี้ โดยการพยายามเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุดอย่างปลอดภัย

การฉายรังสี มีบทบาทอย่างมาก! ต่อการรักษา โดยเฉพาะในรายที่มีหลายตำแหน่ง หรือไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด ซึ่งมะเร็งในสมองมักมีความไวต่อรังสี ดังนั้น การฉายรังสีจึงช่วยยืดอายุ หรือระยะเวลาในการเกิดอาการให้ยาวออกไปได้นานขึ้น

การให้ยาเคมีบำบัด มีบทบาทในบางกลุ่มชนิดเนื้องอก เช่น Temozolomide ในโรค Glioblastoma Multiforme (GBM)

 

รู้หรือไม่

นอกจากการซักประวัติ และการตรวจร่างกายแล้ว เมื่อสงสัยมะเร็งในสมอง แพทย์เจ้าของไข้มักจะต้องส่งการตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) บริเวณสมอง แต่อย่างไรก็ดี การจะบอกได้ว่าเนื้องอกในสมองนั้น เป็นมะเร็งหรือเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือไม่ อาจจะจำเป็นต้องได้ชิ้นเนื้อเพื่อมาทำการตรวจทางพยาธิวิทยาให้ได้การวินิจฉัยสุดท้าย (Definite Diagnosis) ซึ่งส่งผลต่อการรักษาต่อไป

 

สนใจติดต่อเข้ารับบริการคลินิกตรวจคัดกรองมะเร็ง และบริการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV รวมไปถึงการขอคำปรึกษาในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือขอปรึกษาแนวทางในการรักษาโรคมะเร็งได้ที่โรงบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร

  Tel. 033-266-150

  ​ Line Official : https://lin.ee/i71uLAg

 

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ "รู้จัก รู้เรื่อง รู้รักษา โรคมะเร็ง"

เรียบเรียงโดย นพ.ณัฐวุฒิ จีบโจง

แพทย์เฉพาะทางสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

รพ.เฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร