โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
- ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
- คลื่นไส้เล็กน้อย
- ไม่อยากรับประทานอาหาร
- มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
2. การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้
3. การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้
4. การเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพร่กระจายของโรคไปในปอด
5. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
- มีเลือดปนในอุจจาระ
- อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
- น้ำหนักตัวลดลง
- ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
- อ่อนเพลีย
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
- ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของก้อน
- ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
แนวทางการรักษา
- การผ่าตัด
- เคมีบำบัด
- รังสีรักษา
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 033-266150
โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
ตั้งอยู่ที่ 700/134 หมู่ที่ 1 ตำบลครองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
Facebook: โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร